Tuesday, 3 September 2024

5 ปัจจัยที่อาจทำให้เกิดสิวเมื่อต้องทำงานจากที่บ้าน Work from home

1.ไม่อาบน้ำ ไม่สระผม เชื่อว่าหลายคนคงตื่นขึ้นมาแปรงฟันและยังคงอยู่ในชุดนอนเกือบตลอดทั้งวันซึ่งการไม่อาบน้ำอาจทำให้ขั้นตอนการทายารักษาสิวและครีมบำรุงผิวถูกละเลยไป อีกทั้งคนที่เป็นสิวที่ลำตัวอาจจะทำให้เป็นสิวเพิ่มมากขึ้นเนื่องจากผิวมีการผลิตน้ำมันออกมาตลอดทั้งคืน แต่เรากลับไม่ได้กำจัดน้ำมันส่วนเกินของผิวออกไป รวมถึงคนที่มีผิวมันมาก ๆจะมีการผลิตน้ำมันทางรูขุมขนบนหนังศีรษะหากไม่สระผมหลายวัน น้ำมันบนหนังศีรษะก็ไม่ได้ถูกทำความสะอาดออกอาจทำให้ผิวบริเวณไรผมเป็นสิวได้ ดังนั้นจึงควรกำจัดน้ำมันที่ถูกผลิตออกมาจากรูขุนขนทุกวันด้วยการอาบน้ำ
2.แกะสิว เมื่อหลายคนได้ทำงานที่บ้านเชื่อว่าโต๊ะทำงานที่บ้านของหลายๆอาจจะทำกระจกเมื่อเราเห็นกระจกก็อาจจะทำให้เราอยากแกะสิวได้ การแกะสิวหากแกะสิวผิดวิธีอาจจะทำให้สิวบริเวณนั้นเกิดการอักเสบที่รุนแรงขึ้นมาได้ เมื่อเป็นสิวอักเสบรุนแรงก็อาจทำให้เกิดรอยแผลเป็นจากสิวตามมาได้ ดังนั้นจึงควรหลีกเลี่ยงการส่งกระจกบ่อย ๆ
3.ไม่ทากันแดด หลายๆคนอาจเข้าใจผิดว่าการทากันแดดจะทาเฉพาะเมื่อออกไปข้างนอกเท่านั้นทำให้ละเลยการทากันแดดเมื่ออยู่ในบ้านหรืออาคาร แต่การทำงานจากที่บ้านก็หนีไม่พ้นการทำงานผ่านระบบคอมพิวเตอร์และโทรศัพท์เคลื่อนที่ซึ่งอุปกรณ์เหล่านี้มีแสงสีฟ้า Blue light ออกมาจากอุปกรณ์ซึ่งอาจส่งผลทำให้ให้ผิวคล้ำเสียและเกิดริ้วรอยเหี่ยวย่นได้ โดยเฉพาะในคนที่ทายารักษาสิวซึ่งจะทำให้ผิวไวต่อแสงอยู่แล้ว ดังนั้นกันแดดจึงจำเป็นต้องทาทุกวันแม้วันที่อยู่แต่ในบ้าน
4.ลืมดื่มน้ำ ร่างกายของเราประกอบด้วยน้ำร้อยละ 70-80 การดื่มน้ำในปริมาณที่เพียงพอต่อวันจะช่วยทำให้ร่างกายและกำจัดของเสียส่วนเกินออกได้ดีขึ้นและช่วยทำให้ผิวไม่แห้งกรานได้ เนื่องจากคนที่เป็นสิวหากผิวแห้งจะทำให้มีการผลิตน้ำมันจากผิวหนังเพิ่มออกมามากขึ้นดังนั้นการดื่มน้ำที่มากเพียงพอจึงเป็นอีกวิธีที่ช่วยให้เติมความชุ่มชื้นให้กับเซลล์ผิว
5.ไม่ใช้คลีนซิ่ง ถึงแม้ว่าเราจะไม่ได้แต่งหน้า ทาแต่ครีมบำรุงผิวหรือครีมกันแดดก็ตาม ควรต้องเช็ดหน้าด้วยการใช้ผลิตภัณฑ์เช็ดเครื่องสำอาง การใช้ผลิตภัณฑ์เช็ดเครื่องสำอางก็เป็นหนึ่งตัวช่วยให้เราทำความสะอาดหน้าได้ดีขึ้น และกันแดดหรือครีมบางชนิดอาจจะมีสารกันน้ำกันเหงื่อหากไม่ใช้คลีนซิ่งทำความสะอาดอาจทำให้มีสารตกค้างและเป็นสาเหตุของการเกิดสิวได้

Future read:
https://www.healthline.com/nutrition/does-drinking-water-help-acne#hydration
https://www.st-va.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4529263/

Disclaimer

เราจะให้ข้อมูลที่ถูกต้องเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ การรักษาโรค การใช้ยาสมุนไพร ฯลฯ อย่างไรก็ตามเนื้อหาในเว็บไซด์ แห่งนี้มีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจเท่านั้น ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้หรือใช้แทนคำการวินิจฉัย การรักษาทางการแพทย์แต่อย่างไร หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบายควรปรึกษาแพทย์ที่สถานพยาบาลเท่านั้น