Tuesday, 3 September 2024

มารู้จักโควิด19กันเถอะ

สวัสดีค่ะ เภว๊าว ว๊าวความรู้ คู่สุขภาพ วันนี้จะมาพูดถึง โควิด-19 ซึ่งเป็นโรคที่เกิดจากไวรัสสายพันธุ์ใหม่ ดังนั้นข้อมูลที่กล่าวถึงในวันนี้อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ในอนาคตนะคะ
เชื้อโคโรน่าได้ถูกค้นพบครั้งแรกเมื่อปี 1960 โดยผู้ติดเชื้อมีอาการคล้ายไข้หวัดทั่วไป หรือมีอาการปอดบวมแต่มีอาการไม่รุนแรงมาก โดยเชื้อโคโรน่าที่ระบาดในปัจจุบันเป็นสายพันธุ์ใหม่ที่ถูกค้นพบ โดยเชื้อโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่นี้ได้ค้นพบการระบาดครั้งแรกในเมืองอู่ฮั่น มณฑลหูเป่ย์ สาธารณรัฐประชาชนจีน เมื่อปลายปี 2019 ซึ่งพบเชื้อนี้ในผู้ป่วยปอดบวมกลุ่มหนึ่ง พบว่ามีผลต่อระบบทางเดินหายใจเป็นหลักและระบบทางเดินอาหาร และทำให้เกิดอาการที่รุนแรงของโรคได้มาก โดยเชื้อโคโรน่าสายพันธ์ใหม่จะมีชื่อเรียกว่า 2019n-Cov โดยต่อมามีชื่อเฉพาะว่า SARS-Cov-2 ตัวโคโรน่าไวรัสจะมีสารพันธุกรรมอยู่ด้านในและมีเปลือกหุ้มเป็นโปรตีนอยู่ด้านนอก โดยบริเวณเปลือกหุ้มจะมีปุ่มโปรตีนยื่นออกมา (Protein spike) ที่มีลักษณะคล้ายมงกุฎ ซึ่งมงกุฎภาษาอังกฤษจะใช้คำว่า Crown มีรากศัพท์ภาษาลาตินว่า Corona โดยองค์การอนามัยโลก (WHO) ประกาศชื่อที่เป็นทางการสำหรับใช้เรียกโรคทางเดินหายใจที่เกิดจากไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ว่า โควิด-19 โดย Covid-19 ย่อมาจาก Coronavirus Disease 2019 (โรคโคโรน่าไวรัส ค้นพบปี 2019)

ติดเชื้อโคโรน่าไวรัสได้อย่างได้ การติดโรคโควิด-19 (Covid-19) มาจากการสัมผัสผู้ป่วยผ่านการไอ จาม โดยเชื้อโคโรน่าไวรัสสามารถกระจายในอากาศและตกหากจากคนที่ไอหรือจามได้ไกลถึง 1 เมตร หรือจากสัมผัสน้ำมูก น้ำลาย ที่มีเชื้อไวรัสปะปนอยู่ ตามที่ต่าง ๆเช่น ลูกบิดประตู ธนบัตร ห้องครัวส่วนกลาง ATM ราวบันได การจับมือ การนั่งบนเครื่องบิน พื้นผิวที่สาธารณะ และห้องน้ำสาธารณะ โดยกลุ่มที่มีความเสี่ยงมากที่สุดจะเป็นกลุ่มคนที่ใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อ

อาการของโควิด-19 จะมีอาการ “ไข้ ไอ หายใจสั้น” หายใจหอบเหนื่อย ปวดเมื่อยตามตัว (อาการเจ็บคอและมีน้ำมูกจะมีน้อย) และหากเกิดภายใน 14 วันหลังจากออกเดินทางให้รีบไปพบแพทย์ทันที พร้อมทั้งแจ้งประวัติการเดินทางไม่ควรปกปิดข้อมูลเพื่อจะได้วินิจฉัยได้อย่างแม่นยำมากขึ้น

วิธีป้องกันตัวเองและผู้อื่นไม่ให้ติดเชื้อ
– สวมหน้ากากอนามัยเมื่อออกไปแหล่งชุมชน
– ใช้ปิดปากทุกครั้งที่ไอหรือจามโดยทิชชู่หรือหน้ากากอนามัย และทิ้งถังขยะให้มิดชิด
– ล้างมือทุกครั้งหลังไอหรือจาม ล้างมือสม่ำเสมอไม่เอามือจับบริเวณหน้าหรือปาก
– หลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้ผู้ป่วยหรือแหล่งชุมชน หากมีอาการป่วยควรหลีกเลี่ยงการใช้ของร่วมกับผู้อื่น
– กินอาหารที่ปรุงสุก

หวังว่าบทความนี้จะมีประโยชน์ ขอให้ทุกท่านกินร้อน ช้อนตัวเอง ล้างมือ รักษาสุขภาพออกกำลังกายสม่ำเสมอเพื่อสุขภาพที่ดีด้วยนะคะ

Credit Picture:
1. Health photo created by freepik – www.freepik.com
2. Flower vector created by doodle_flower – www.freepik.com
3. Pixa bay.com
4. Icon made by monkik, Freepik from www.flaticon.com
5. Health vector created by freepik – www.freepik.com
6. Water photo created by shayne_ch13 – www.freepik.com
7. Health photo created by freepik – www.freepik.com
8. Business photo created by lifeforstock – www.freepik.com

Further read:

https://tmc.or.th/pdf/tmc_knowlege-26.pdf

https://www.nature.com/articles/s41564-020-0695-z

https://www3.dmsc.moph.go.th/post-view/705

Reference:

1.ไวรัสโคโรน่า”COVID-19”. สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก https://www.nstda.or.th/th/nstda-knowledge/13054-covid-19.[16 มี.ค. 2020].

2.”Novel Coronavirus”.World health organization (WHO). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก https://www.youtube.com/watch?v=mOV1aBVYKGA.[16 มี.ค. 2020].

3.”Corona Virus”. World health organization (WHO). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก https://www.who.int/health-topics/coronavirus.[16 มี.ค. 2020].

Credit picture: Health photo created by freepik – www.freepik.com ,PIXA BAY

Disclaimer

เราจะให้ข้อมูลที่ถูกต้องเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ การรักษาโรค การใช้ยาสมุนไพร ฯลฯ อย่างไรก็ตามเนื้อหาในเว็บไซด์ แห่งนี้มีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจเท่านั้น ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้หรือใช้แทนคำการวินิจฉัย การรักษาทางการแพทย์แต่อย่างไร หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบายควรปรึกษาแพทย์ที่สถานพยาบาลเท่านั้น