โปรไบโอติกลดสิว ในปัจจุบันโปรไบโอติกไม่ได้เป็นเพียงจุลินทรีย์ที่ช่วยในระบบย่อยอาหารเท่านั้น แต่ยังมีบทบาทสำคัญต่อสุขภาพผิวและการจัดการกับปัญหาสิวที่หลายคนกำลังเผชิญ การศึกษาทางวิทยาศาสตร์ล่าสุดได้เผยให้เห็นความเชื่อมโยงอันน่าทึ่งระหว่างสมดุลของจุลินทรีย์ในร่างกายกับสภาพผิวของเรา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการควบคุมการเกิดสิว
จุลินทรีย์ที่อาศัยอยู่ในระบบทางเดินอาหารของเรามีความสัมพันธ์โดยตรงกับการอักเสบทั่วร่างกาย รวมถึงผิวหนัง ผ่านแกนเชื่อมโยงระหว่างลำไส้และผิวหนัง (gut-skin axis) เมื่อสมดุลของจุลินทรีย์ในลำไส้เสียไป อาจส่งผลให้เกิดการอักเสบที่ผิวหนังและกระตุ้นการผลิตน้ำมันมากเกินไป ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดสิว การเสริมโปรไบโอติกจึงอาจเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการดูแลผิวจากภายในสู่ภายนอก
ในบทความนี้ เราจะมาทำความเข้าใจกลไกการทำงานของโปรไบโอติกต่อการลดสิว พร้อมทั้งค้นหาคำตอบว่าเหตุใดการดูแลสมดุลจุลินทรีย์ในร่างกายจึงอาจเป็นกุญแจสำคัญในการแก้ปัญหาสิวที่หลายคนมองข้าม
สารบัญบทความ
โปรไบโอติกลดสิว โปรไบโอติกคืออะไร
ทำความรู้จักกับสิวเรื้อรังคืออะไร
ความเชื่อมโยงระหว่างโปรไบโอติกกับสิวเรื้อรัง
การเลือก โปรไบโอติกลดสิว ที่เหมาะสมสำหรับปัญหาสิวเรื้อรัง
วิธีการรับประทาน โปรไบโอติกลดสิว ให้ได้ผล
การเสริมสร้างสุขภาพลำไส้เพื่อลดสิวร่วมกับ โปรไบโอติกลดสิว
บทส่งท้าย
โปรไบโอติกลดสิว โปรไบโอติกคืออะไร
โปรไบโอติกคือจุลินทรีย์ที่มีชีวิตที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพร่างกาย โดยเฉพาะสุขภาพลำไส้ สามารถพบได้ในผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและอาหารที่เรารับประทาน เช่น กิมจิ เทมเป้ นัตโตะ โยเกริต เป็นต้น โดยโปรไบโอติกเป็นจุลินทรีย์ที่ดีจะช่วยส่งเสริมการย่อยอาหาร การผลิตสารสื่อประสาทและวิตามินบางชนิด โปรไบโอติกมักเป็นกลุ่มของแบคทีเรียและยีสต์ ตระกูลของโปรไบโอติกที่เป็นแบคทีเรีย ที่เป็นที่รู้จักและมักใช้กันจะได้แก่ โปรไบโอติกตระกูลแลคโตบาซิลลัส (Lactobacillus) และบิฟิโดแบคทรีเรียม (ฺBifidobacterium) ส่วนโปรไบโอติกที่เป็นยีส ได้แก่ แซกคาโรไมซีส เบาลาร์ดดิ (Sacharomyces boulardii) โปรไบโอติกมีประโยชน์ต่อสุขภาพร่างกายหลายด้าน เช่น ระบบผิวหนัง สุขภาพลำไส้ สุขภาพจิต ภาวะภูมิแพ้ เป็นต้น [1]
ทำความรู้จักกับสิวเรื้อรังคืออะไร
สิว เกิดจากปัญหาผิวที่ต่อมไขมันที่เชื่อมกับรูขุมขน ผลิตน้ำมันออกมาที่ผิวหนังชั้นนอกเพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับผิว แล้วน้ำมันไม่สามารถออกมาจากรูขุมขนได้เนื่องจากเส้นขน น้ำมัน และเซลล์ผิวหนังที่ตายแล้วเข้าไปเกาะกันอุดตันอยู่ในรูขุมขน ทำให้น้ำมันที่ต่อมไขมันไม่สามารถออกมาจากรูขุมขน และเซลล์ผิวไม่สามารถผลัดเซลล์ผิวหนังได้ ส่งผลให้แบคทีเรียที่อาศัยอยู่บนผิวหนังเกิดการอักเสบ บวม แดง เป็นสิวได้ คนส่วนใหญ่จะหายเมื่ออายุ 30 แต่บางคนเมื่ออายุ 40 หรือ 50 ก็ยังมีอาการอยู่ สิวมีหลายประเภท ได้แก่ สิวหัวขาว สิวหัวดำ ตุ่มหนอง ตุ่มหนองหรือสิว สิวหัวหนองรุนแรงหรือสิวซีสต์
สาเหตุและปัจจัยที่ทำให้เกิดสิวเรื้อรัง นักวิจัยเชื่อว่าสิวเรื้อรังฝอาจเกิดจากสาเหตุใดสาเหตุหนึ่งหรือหลายสาเหตุประกอบกัน เช่น การผลิตน้ำมันมากเกินไป การสะสมของเซลล์ผิวที่ตายแล้วในรูขุมขน การเจริญเติบโตของแบคทีเรียในรูขุมขน เป็นต้น โดยมีปัจจัยที่ส่งผลให้เพิ่มโอกาสในการเกิดสิวมากยิ่งขึ้น จากความไม่สมดุลของฮอร์โมนในร่างกาย ประวัติครอบครัว และยาบางชนิด นอกจากนี้พฤติกรรมการใช้ชีวิตเช่น การรับประทานอาหาร ความเครียด มลภาวะ ยังมีส่วนที่ทำให้สิวแย่ลงอีกด้วย [2]
ความเชื่อมโยงระหว่างโปรไบโอติกกับสิวเรื้อรัง
1.ความเชื่อมโยงระหว่างอาหารกับสิว
ถึงแม้ว่าสาเหตุของสิวสามารถเกิดได้จากปัจจัยหลายประการ แต่มีการศึกษาพบว่าอาหารที่มีค่าดัชนี้น้ำตาลสูงเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดสิว โดยกระตุ้นให้เกิดการผลิตอินซูอินและอินซูลินไลค์โกรทแฟกเตอร์ (IGF-1) ส่งผลให้ส่งเสริมการแบ่งตัวของเซลล์ไขมัน เคอราติโนไซต์(เซลล์ผิวหนังชั้นนอก) และกระตุ้นการสังเคราะห์ไขมันในต่อมไขมัน และมีการศึกษาพบว่าจุลินทรีย์ในลำไส้สามารถกระตุ้นอินซูลินไลค์โกรทแฟกเตอร์ (IGF-1) ได้เช่นกัน และพบว่ามีความเชื่อมโยงระหว่างโรคผิวหนังกับจุลินทรีย์ในลำไส้ที่ไม่สมดุล จึงเชื่อว่าการปรับสมดุลของจุลินทรีย์ในลำไส้จะส่งผลต่อสุขภาพผิว[3] อ่านโปรไบโอติกกับซึมเศร้า ที่นี่
2.การควบคุมการอักเสบ
โปรไบโอติกช่วยลดการอักเสบทั่วร่างกายผ่านการปรับสมดุลของระบบภูมิคุ้มกัน โดยเฉพาะการลดการผลิตไซโตไคน์ที่ก่อให้เกิดการอักเสบ (pro-inflammatory cytokines) เช่น IL-1, IL-8, TNF-α [4] [8]ซึ่งมีส่วนในการกระตุ้นการเกิดสิว [5]
3.การควบคุมฮอร์โมน
จุลินทรีย์ในลำไส้มีผลต่อการเผาผลาญฮอร์โมนแอนโดรเจน ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่กระตุ้นการผลิตน้ำมันบนผิวหนัง การมีสมดุลของจุลินทรีย์ที่ดีจะช่วยควบคุมระดับฮอร์โมนเหล่านี้ [6]
4.การดูดซึมสารอาหาร
โปรไบโอติกช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการดูดซึมวิตามินและแร่ธาตุที่จำเป็นต่อสุขภาพผิว เช่น วิตามิน A, D, E และสังกะสี ซึ่งมีความสำคัญในการซ่อมแซมผิวและควบคุมการผลิตน้ำมัน [7]
5.การต่อต้านเชื้อแบคทีเรีย C. acnes
โปรไบโอติกบางสายพันธุ์ผลิตสารต้านจุลชีพที่สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อ C. acnes (Cutibacterium acnes) ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของการเกิดสิว [3]
6.การเสริมสร้างผนังลำไส้
โปรไบโอติกช่วยเสริมความแข็งแรงของผนังลำไส้ ลดภาวะลำไส้รั่ว (Leaky Gut) ซึ่งเป็นสาเหตุของการอักเสบทั่วร่างกายและส่งผลต่อการเกิดสิว [3] [8]
การเลือก โปรไบโอติกลดสิว ที่เหมาะสมสำหรับปัญหาสิวเรื้อรัง
1.เลือกสายพันธุ์ที่มีประสิทธิภาพ
พบว่าการใช้โปรไบโอติกทำให้ระยะเวลาการรักษาสิวแบบดั้งเดิมลดลง โปรไบโอติกแต่ละสายพันธุ์มีลักษณะเฉพาะ จากการศึกษาพบว่าตระกูลของโปรไบโอติกที่ช่วยลดสิว เช่น Lactobacillus และ Bifidobacterium
2.ปริมาณจุลินทรีย์ที่มีชีวิต (CFU)
ควรเลือกผลิตภัณฑ์ที่มี CFU อย่างน้อย 10-20 พันล้านตัวต่อการรับประทาน 1 ครั้งและตรวจสอบวันหมดอายุและการเก็บรักษาเพื่อให้แน่ใจว่าจุลินทรีย์ยังมีชีวิต
3.ส่วนประกอบเสริม
- พรีไบโอติก เพื่อเป็นอาหารให้จุลินทรีย์ ส่งเสริมให้โปรไบโอติกทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น
- วิตามินและแร่ธาตุที่ช่วยบำรุงผิว เช่น สังกะสี วิตามินดี
4. รูปแบบผลิตภัณฑ์
- แคปซูลที่มีเทคโนโลยีปกป้องจุลินทรีย์จากกรดในกระเพาะ
- ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ต้องแช่เย็น สะดวกต่อการพกพา
- ขนาดแคปซูลที่กลืนง่ายหรือแบบผงชงดื่ม
วิธีการรับประทาน โปรไบโอติกลดสิว ให้ได้ผล
- ควรรับประทานตอนท้องว่าง ช่วงเช้าก่อนอาหาร 30 นาที หรือก่อนนอนหลังรับประทานอาหารมื้อสุดท้าย 2-3 ชั่วโมง หลีกเลี่ยงการรับประทานพร้อมอาหารร้อนหรือเครื่องดื่มร้อน
- เริ่มจากขนาดต่ำก่อน เช่น 5-10 พันล้าน CFU ต่อวัน และค่อยๆ เพิ่มขึ้นเป็น 15-20 พันล้าน CFU หลังจากรับประทานไป 1-2 สัปดาห์
- รับประทานอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อย 8-12 สัปดาห์เพื่อเห็นผลที่ชัดเจน
- ดื่มน้ำตามมากๆ หลีกเลี่ยงการรับประทานร่วมกับยาปฏิชีวนะและเก็บไว้ในที่แห้งและเย็น
ข้อควรระวัง
- แนะนำให้ปรึกษาแพทย์ก่อนใช้หากมีโรคประจำตัว
- แจ้งแพทย์หากใช้ยารักษาสิวอื่นๆ ร่วมด้วย
- หยุดใช้ทันทีหากมีอาการแพ้หรือผิดปกติ
- ไม่ควรรับประทานเกินขนาดที่แนะนำ
- คนที่มีโรคประจำตัว ภูมิคุ้มกันบกพร่อง รักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาลไม่ควรรับประทาน
- เลือกซื้อจากแบรนด์ที่น่าเชื่อถือและได้มาตรฐาน
การเสริมสร้างสุขภาพลำไส้เพื่อลดสิวร่วมกับ โปรไบโอติกลดสิว
ถึงแม้ว่าการเกิดสิวจะสามารถเกิดได้หลายสาเหตุ และการรักษาด้วยยาจะมีประสิทธิผลที่เห็นได้ชัด แต่การศึกษาพบว่าการรักษาสิวร่วมกับการปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหารโดยรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพและวิตามินเสริมอาหารอาจจะช่วยทำให้สิวดีขึ้น โดยมีการศึกษาพบว่ากลุ่มจุลินทรีย์ที่อาศัยอยู่ในร่างกายมีบทบาทสำคัญทั้งในลำไส้และบนผิวหนัง และพบว่าการบริโภคนมและอาหารที่มีน้ำตาลสูงมีความสัมพันธ์กับการผลิตน้ำมันบนผิวเพิ่มมากขึ้น มีการศึกษาพบว่าผู้ที่บริโภคผักและปลาเป็นสิวน้อยกว่าผู้ที่บริโภคบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป น้ำอัดลม ขนมขบเคี้ยว ชีสแปรรูป [3] ดังนั้นการรักษาสิวด้วยยาร่วมกับการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพเพื่อส่งเสริมจุลินทรีย์ที่ดีในลำไส้ทำให้การรักษาสิวเป็นไปในทิศทางที่ดีในระยะยาว
บทส่งท้าย
จากหลักฐานทางวิทยาศาสตร์และงานวิจัยที่นำเสนอในบทความนี้ แสดงให้เห็นว่าโปรไบโอติกไม่เพียงมีประโยชน์ต่อระบบย่อยอาหารเท่านั้น แต่ยังมีบทบาทสำคัญในการดูแลสุขภาพผิวและการจัดการกับปัญหาสิว การเสริมโปรไบโอติกอย่างเหมาะสมร่วมกับการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม อาจเป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับผู้ที่กำลังมองหาวิธีจัดการกับปัญหาสิวอย่างยั่งยืน
อย่างไรก็ตาม พึงระลึกไว้ว่าการตอบสนองต่อโปรไบโอติกของแต่ละบุคคลอาจแตกต่างกัน และอาจต้องใช้เวลาในการเห็นผลลัพธ์ที่ชัดเจน การปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญก่อนเริ่มใช้ผลิตภัณฑ์เสริมโปรไบโอติกจึงเป็นสิ่งสำคัญ โดยเฉพาะในกรณีที่มีโรคประจำตัวหรือกำลังใช้ยารักษาสิวอื่นๆ อยู่
การดูแลสุขภาพจากภายในสู่ภายนอกผ่านการสร้างสมดุลของจุลินทรีย์ในร่างกาย อาจเป็นกุญแจสำคัญที่ช่วยให้คุณก้าวข้ามปัญหาสิวและมีผิวสุขภาพดีอย่างยั่งยืน ในอนาคตอันใกล้ เราอาจได้เห็นนวัตกรรมใหม่ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้โปรไบโอติกเพื่อการดูแลผิว ซึ่งจะช่วยเพิ่มทางเลือกในการดูแลสุขภาพผิวให้กับผู้ที่กำลังต่อสู้กับปัญหาสิวได้มากยิ่งขึ้น
อ้างอิง
- Probiotics usefulness and safety
- Acne NIH
- The impact of consuming probiotics and following a vegetarian diet on the outcomes of acne
- The anti-inflammatory and curative exponent of probiotics: A comprehensive and authentic ingredient for the sustained functioning of major human organs
- A review of skin immune processes in acne
- The gut microbiota is a major regulator of androgen metabolism in intestinal contents
- Probiotics or Pro-healers the role of beneficial bacteria in tissue repair
- Probiotics for acne and skin health
เภสัชกรอิสรีย์นะคะ จบจากคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มาแบ่งปันความรู้ด้านสุขภาพและอาหารเสริม หวังว่าจะมีประโยชน์กับทุกคนนะคะ ติดต่องาน : LINE @Bhaewow
E-mail : bhaewow@gmail.com
ติดตามเราได้ที่ : Youtube Bhaewow