Thursday, 16 January 2025

โปรไบโอติกสำหรับเด็ก ตัวช่วยดูแลสุขภาพลำไส้ เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน

  โปรไบโอติกสำหรับเด็ก เป็นจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย สามารถพบได้ในอาหารบางชนิด เป็นจุลินทรีย์ที่ทนต่อกรดและด่าง เมื่อรับประทานเข้าไปจะเสริมการทำงานของจุลินทรีย์ประจำถิ่นในร่างกายส่งเสริมการมีสุขภาพที่ดีก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสุขภาพได้

สารบัญบทความ

ทำไม โปรไบโอติกสำหรับเด็ก จึงสำคัญต่อระบบย่อยอาหารในเด็ก

โปรไบโอติกสำหรับเด็ก ช่วยการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันในเด็กได้อย่างไร

โปรไบโอติก พบได้ในอาหารอะไรบ้าง

วิธีเลือก โปรไบโอติกสำหรับเด็ก

ข้อควรระวังในการใช้ โปรไบโอติกสำหรับเด็ก

รีวิว โปรไบโอติกสำหรับเด็ก

 

ทำไมโปรไบโอติกสำหรับเด็ก จึงสำคัญต่อระบบย่อยอาหารในเด็ก

โพรไบโอติก สำหรับเด็กท้องผูกถ่ายยาก

           ในเด็กเล็กระบบขับถ่ายและย่อยอาหารเป็นระบบที่พ่อแม่มีความกังวลและให้ความสำคัญค่อนข้างมาก ดังนั้นหลายๆคนจึงมองหาตัวช่วยที่ปลอดภัยสำหรับเด็ก หนึ่งในนั้นที่มีการพูดถึงอยู่บ่อยๆก็คือ โปรไบโอติก โดยโปรไบโอติกจะช่วย

  1. โปรไบโอติกเป็นจุลินทรีย์ที่ช่วยรักษาสมดุลของจุลินทรีย์ที่อยู่ประจำถิ่นในลำไส้ให้อยู่ในสภาวะปกติ ส่งเสริมการทำงานของจุลินทรีย์ในลำไส้ ส่งผลให้ช่วยป้องกันการเติบโตของจุลินทรีย์ที่เป็นอันตราย
  2. โปรไบโอติกบางสายพันธุ์ผลิตเอนไซม์บางชนิดที่ช่วยย่อยอาหาร ดังนั้นจึงช่วยส่งเสริมการย่อยอาหารบางชนิด เช่น เอนไซม์แลคเตสช่วยย่อยน้ำตาลแลคโตสในน้ำนมได้ดีขึ้น
  3. โปรไบโอติกช่วยส่งเสริมให้จุลินทรีย์ประจำถิ่นมีความแข็งแรงและทำงานได้ดีขึ้น การทำงานของระบบลำไส้ที่ดีขึ้น ส่งเสริมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันและยังส่งผลให้ระบบภูมิคุ้มกันโดยรวมดีขึ้น
  4. โปรไบโอติกช่วยลดปัญหาที่พบได้บ่อยในระบบทางเดินอาหาร เมื่อการทำงานของจุลินทรีย์ประจำถิ่นดีขึ้น ไม่ว่าจะเป็นอาการท้องอืด มีแก๊สในท้อง และอาการท้องเสีย ก็จะเกิดได้น้อยลงตามไปด้วp
  5. โปรไบโอติกสนับสนุนให้สุขภาพจิตดีขึ้น เมื่อระบบทางเดินอาหารทำงานได้ดีขึ้น และมีประสิทธิภาพ เกิดความสมดุลของจุลินทรีย์ในลำไส้ ก็จะทำให้สุขภาพร่างกายโดยรวมดีขึ้น ส่งผลให้ส่งเสริมสุขภาพจิตให้ดีขึ้น

โปรไบโอติกสำหรับเด็กช่วยการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันในเด็กได้อย่างไร

  1. โปรไบโอติกรักษาสมดุลจุลินทรีย์ในลำไส้ ช่วยเพิ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในลำไส้ ทำให้จุลินทรีย์ประจำถิ่นทำงานได้อย่างสมดุล จุลินทรีย์ที่ก่อโรคหรือเป็นอันตรายลดลง  ซึ่งในลำไส้มีเนื้อเยื่อที่มีส่วนสำคัญในการเก็บและเป็นแหล่งกำเนิดของเซลล์ภูมิคุ้มกันในร่างกายถึง 70%  เมื่อลำไส้แข็งแรงระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายของเราก็แข็งแรงไปด้วย
  2. โปรไบโอติกเสริมความแข็งแรงของเยื่อบุลำไส้ เป็นจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ ด้วยคุณสมบัติของโปรไบโอติกจึงช่วยทำหน้าที่เป็นเกราะป้องกันจุลินทรีย์ก่อโรค ป้องกันการติดเชื้อได้ดีขึ้น
  3. โปรไบโอติกกระตุ้นการสร้างเซลล์ระบบภูมิคุ้มกันในลำไส้ ในลำไส้ มีเนื้อเยื่อที่เรียกว่า GALT (Gut-Associated Lymphoid Tissue) มีส่วนสำคัญในการสร้างและเก็บเซลล์ภูมิคุ้มกัน

โปรไบโอติก พบได้ในอาหารอะไรบ้าง

นอกจากผลิตภัณฑ์เสริมอาหารแล้ว เรายังสามารถเพิ่มโปรไบโอติกที่มีประโยชน์จากแหล่งอาหารธรรมชาติได้อีกด้วย นอกจากจะช่วยเสริมการทำงานของจุลินทรีย์ในลำไส้แล้ว ยังเพิ่มความหลากหลายในการรับประทานอาหารและเพิ่มรสชาติของอาหารให้กับเด็กๆได้อีกด้วย อาหารที่พบโปรไบโอติกที่ดี ได้แก่

1. โยเกิร์ต  แนะนำให้เลือกโยเกิร์ตที่มีโปรไบโอติกสูง ไม่ว่าจะเป็นสายพันธุ์ที่มีแล็กโทบาซิลลัส (Lactobacillus) และสายพันธุ์บิฟิโดแบคทีเรียม (Bifidobacterium) ซึ่งจะช่วยเสริมสมดุลของจุลินทรีย์ในลำไส้ รวมถึงทำให้ระบบขับถ่ายดีขึ้นด้วย เลือกแบบไม่มีน้ำตาลและใส่ผลไม้สดในปริมาณที่เหมาะสม ทำให้เด็กสามารถทานเป็นของว่างที่มีประโยชน์ได้อีกด้วย

อาหารที่มี โปรไบโอติกสำหรับเด็ก โพรไบโอติกสำหรับเด็ก

2.กิมจิ โปรไบโอติกที่พบมักจะเป็นสายพันธุ์แล็กโทบาซิลลัส (Lactobacillus)  ในท้องตลาดอาจจะมีกิมจิรสชาติเผ็ดเป็นส่วนใหญ่ แต่ก็ยังมีผลิตภัณฑ์กิมจิสำหรับเด็กอยู่บ้าง เลือกสำหรับเด็กที่มีรสชาติไม่เผ็ด โซเดียมไม่สูงจนเกินไป หรือหากพอมีเวลาก็สามารถทำเองได้ นอกจากจะมีโปรไบโอติกแล้วเด็กก็ยังจะได้กากใย และเกลือแร่จากผัก เพิ่มรสชาติอาหารทำให้อยากทานอาหารเพิ่มมากขึ้นอีกด้วย

อาหารที่มี โปรไบโอติกสำหรับเด็ก โพรไบโอติกสำหรับเด็ก ท้องผูก อึแข็ง ถ่ายยาก

3.เทมเป้ มีโปรไบโอติกธรรมชาติ เป็นถั่วเหลืองหมักกับเชื้อราสายพันธุ์ไรโซปัส โอสิโกสปอรัส (Rhizopus Oligosporus) จนเกิดเป็นเส้นใยช่วยให้ถั่วยึดติดกันเป็นก้อน ถือว่าเป็นอาหารพื้นเมืองของชาวอินโดนีเซีย นำมาทอดหรืออบเป็นของว่าง หรือใส่ในสลัดเพิ่มรสชาติได้

อาหารที่มี โปรไบโอติกสำหรับเด็ก โพรไบโอติกสำหรับเด็ก ท้องผูก อึแข็ง ถ่ายยาก เทมเป้

4.มิโสะ มีโปรไบโอติกได้จากการหมักจากถั่วเหลือง นำมาทำเป็นซุปหรือนำมาผัดกับอาหาร เพิ่มรสชาติของอาหาร แล้วยังได้ประโยชน์ที่ดีอีกด้วย

อาหารที่มีโปรไบโอติกสำหรับเด็ก โพรไบโอติก ท้องผูก อึแข็ง ถ่ายยาก มิโสะ

วิธีเลือก โปรไบโอติกสำหรับเด็ก

  1. เลือกสายพันธุ์โปรไบโอติก เนื่องจากโปรไบโอติกมีหลายสายพันธุ์ ดังนั้นเราจึงต้องเลือกสายพันธุ์ที่เหมาะสมสำหรับเด็ก และพบข้อมูลว่าปลอดภัยและมีประสิทธิภาพสำหรับเด็ก เช่น สายพันธุ์แล็กโทบาซิลลัส แรมโนซัส จีจี(Lactobacillus rhamnosus GG) และสายพันธุ์บิฟิโดแบคทีเรียม แล็กทิส (Bifidobacterium lactis)
  2. ดูปริมาณโปรไบโอติกในผลิตภัณฑ์ ปริมาณที่แนะนำสำหรับเด็ก จะอยู่ในช่วง 1-10 พันล้านหน่วย (Colony Forming Units : CFUs) ต่อวัน ปริมาณที่แนะนำในเด็กแต่ละวัยจะมีดังนี้
  • เด็กทารก: 1 พันล้าน – 10 พันล้าน CFUs
  • เด็กเล็ก: 1 หมื่นล้าน – 5 หมื่นล้าน CFUs
  • เด็กวัยเรียน: 1 หมื่นล้าน – 10 หมื่นล้าน CFUs
  1. รูปแบบของผลิตภัณฑ์โปรไบโอติก เนื่องจากในท้องตลาดมีผลิตภัณฑ์หลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นแบบผงชงดื่ม แบบแคปซูล แบบไซรัป หรือแบบเยลลี่ ควรเลือกผลิตภัณฑ์ที่รับประทานง่าย และเหมาะกับวัย เช่น แบบผง สามารถผสมกับนม น้ำ หรือ โยเกิร์ต แบบเม็ดเคี้ยว เด็กเล็กสามารถทานได้พกพาง่าย และแบบแคปซูล เด็กโตสามารถทานได้ เป็นต้น
  2. เลือกโปรไบโอติกส์ที่มีการรับรองได้มาตราฐาน จากหน่วยงานคณะกรรมการอาหารและยา และมีการขึ้นทะเบียนที่ถูกต้อง มีการผลิตจากบริษัทที่ได้มาตราฐานการผลิต ตามมาตราฐานสากล และมีการจัดเก็บในอุณหภูมิที่ถูกต้องเหมาะสม
  3. ดูส่วนประกอบในผลิตภัณฑ์ เนื่องจากในบางผลิตภัณฑ์ มีส่วนประกอบหลายชนิด ให้ดูว่ามีส่วนประกอบซ้ำกับผลิตภัณฑ์อื่นที่เด็กรับประทานอยู่หรือไม่ และตรวจสอบ เปรียบเทียบผลิตภัณฑ์ ดูว่ามีส่วนผสมของน้ำตาล สารกันบูด หรือสีสังเคราะห์ปริมาณเท่าใด เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดปัญหาสุขภาพด้านอื่นๆตามมา
  4. ก่อนรับประทานโปรไบโอติกแนะนำให้ปรึกษาแพทย์ เนื่องจากเด็กบางคนอาจมีข้อจำกัดในการทานโปรไบโอติกและเพื่อให้ได้รับปริมาณตามความเหมาะสมของเด็กในแต่ละวัน โดยเลือกผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมตามวัย

ข้อควรระวังในการใช้ โปรไบโอติกสำหรับเด็ก

            โปรไบโอติก โดยทั่วไปจะค่อนข้างปลอดภัยสำหรับเด็กเป็นส่วนใหญ่ แต่สามารถเกิดอาการข้างเคียงได้ในบางคน เช่น อาการท้องอืดท้องเฟ้อ อาการแพ้ ดังนั้นจึงต้องปรึกษาแพทย์และระวังการใช้ในเด็กบางกลุ่ม ได้แก่

  1. เด็กที่มีภูมิคุ้มกันอ่อนแอ
  2. เด็กที่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร
  3. เด็กที่รับประทานยาปฏิชีวนะ หรือยารักษาโรคประจำตัวเป็นประจำ

ถึงแม้ว่าโปรไบโอติกจะมีประโยชน์หลายด้านและค่อนข้างปลอดภัยในการใช้ แต่การเลือกสายพันธุ์ของโปรไบโอติกและปริมาณการใช้ที่เหมาะสมก็มีความสำคัญมาก นอกจากนี้ควรคำนึงถึงการเก็บรักษาในที่ที่เหมาะสมตามคำแนะนำของผลิตภัณฑ์ และปรึกษาแพทย์ หรือเภสัชกรก่อนใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารทุกชนิด และทุกครั้งเพื่อความปลอดภัยในการใช้ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ หากไม่แน่ใจว่าจะมีอาการข้างเคียงเกิดขึ้นหรือไม่ สามารถเริ่มใช้ผลิตภัณฑ์ด้วยปริมาณเล็กน้อย และค่อยๆเพิ่มปริมาณไปจนถึงปริมาณที่ผลิตภัณฑ์นั้นแนะนำ และค่อยๆสังเกตอาการหากมีอาการผิดปกติให้หยุดโปรไบโอติกส์และปรึกษาแพทย์ทันที

รีวิว โปรไบโอติกสำหรับเด็ก

1. AWL PROBIOTICS PLUS โปรไบโอติกสำหรับเด็ก

Auswelllife Probiotics plus โปรไบโอติกสำหรับเด็ก โพรไบโอติก

sponsored shopee AWL Probiotic plussponsored Lazada AWL Probiotic plus

AWL Probiotic Plus โปรไบโอติก พลัส โปรไบโอติกช่วยลดการขับถ่ายยาก ท้องอืด ท้องผูก ช่วยรักษาสมดุลระบบทางเดินอาหารลดแบคทีเรียก่อโรคต่างๆ  และยังมีประยชน์ต่างๆในหลายๆด้าน โปรไบโอติก ชงผสมน้ำเปล่า หรือนม หรือเครื่องดื่มอื่นๆตามสะดวก ชงดื่มทานง่ายๆ

ส่วนประกอบ 1 ซองประกอบด้วย

  • จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์  3 สายพันธุ์

Lactobacillus acidophilus

Bifidobacterium bifidium

Bifidobacterium animalis subsp.lactis

  • Innulin
  • Ascorbic acid
  • Vitamin D3

คำแนะนำเพิ่มเติม สำหรับเด็ก 2 เดือนขึ้นไป ทาน 1/4 ซอง 1 ปี ทาน 1/2 ซอง 2 ปีขึ้นไป ทาน 1 ซอง

เลขทะเบียนจดแจ้ง อย.10-3-16261-5-0038

2.Lamoon Prolacto Vita Jeli Synbiotic โปรไบโอติกสำหรับเด็ก

Lamoon Prolacto probiotic synbiotic โปรไบโอติกสำหรับเด็ก โพรไบโอติก

sponsored shopee sponsored Lazada

ละมุน โปรแลคโตะ เจลิ รสโยเกิร์ต ประกอบด้วย

  • โปรไบโอติกจุลินทรีย์มีชีวิต (Lactobacillus rhamnosus, Bifidobacterium lactis) จากประเทศฝรั่งเศสที่ดีต่อลำไส้จำนวน 1,000 ล้านตัว (CFUs) พร้อมผลการวิจัยรับรองประสิทธิภาพความปลอดภัยกว่า
  • Prebiotics GOS เป็นอาหารของโปรไบโอติก ไม่ทำให้ท้องอืด ช่วยทำให้โปรไบโอติกทำงานได้ดีขึ้น
  • Apple vinegar ที่ใช้เทคนิคการหมักแอปเปิ้ลเพื่อให้ได้เอนไซม์ ช่วยปรับ pH ให้เป็นกรดอ่อน ๆ ช่วยสร้างสภาวะที่เหมาะสมให้กับการเจริญของโปรไบโอติก
  • Fiber จากไซเลียมฮัค เส้นใยบนเนื้อเจลลี่ ช่วยเพิ่มมวลอุจจาระ ให้ขับถ่ายง่ายขึ้น และอุจจาระไม่แข็ง
  • ใช้เทคโนโลยี Double Encapsulated technology เกราะป้องกันสารอาหารและ Probiotics แบบ 2 ชั้น ที่คงทนต่อทุกสภาพแวดล้อมในระบบทางเดินอาหาร เป็นรูปแบบที่ปกป้อง และนำส่ง สารอาหารไปยังบริเวณลำไส้ได้ดีกว่ารูปแบบอื่นทำให้ได้รับสารอาหารที่เต็มประสิทธิภาพและทำให้โปรไบโอติกมีปริมาณที่มากเพียงพอ มั่นใจได้ว่าจุลินทรีย์มีชีวิตตลอดอายุผลิตภัณฑ์

คำแนะนำเพิ่มเติม

  • สำหรับเด็ก รับประทาน 1 ซอง
  • สำหรับผู้ใหญ่ รับประทาน 2 ซอง ก่อนนอนทุกวัน
  • แนะนำให้รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ผัก ผลไม้ ในปริมาณที่เหมาะสมทุกวัน และเสริมด้วย Prolacto เป็นประจำ
  • มีส่วนผสมของแลคโตส เด็กแพ้นมวัวรุนแรงไม่แนะนำ

เลขทะเบียนจดแจ้ง 13-4-08166-5-0001

3. TONG JAI PROBITO ต้องใจ โพรบิโตะ โปรไบโอติกสำหรับเด็ก

tongjai probito probiotic โปรไบโอติกสำหรับเด็ก โพรไบโอติก

sponsored shopee sponsored Lazada

โปรไบโอติกและพรีไบโอติก สำหรับเด็กโดยเฉพาะ ช่วยรักษาสุขภาพทางเดินอาหารและระบบภูมิคุ้มกันของเด็ก เป็นจุลินทรีย์ที่มีชีวิต จุลินทรีย์เหล่านี้ได้รับการคัดเลือกแล้วว่าเป็นสายพันธุ์ที่มีประโยชน์ต่อร่างกายเมื่อรับประทานเข้าไป

ต้องใจ โปรบิโตะ ประกอบด้วยส่วนผสมสำคัญ

  • โปรไบโอติก บาซิลัส โคแอกกูแลน (Bacillus Coagulans)
  • ผงข้าวโพด (Corn fiber) นำเข้าจากประเทศญี่ปุ่น ใยอาหารจากข้าวโพดให้ไฟเบอร์สูง 85%
  • อินูลิน (Inulin) จากรากชิโคริ ใยอาหารไฟเบอร์สูง ช่วยเรื่องท้องผูก
  • พรีไบโอติกส์ Xylo-oilgosaccharides (XOS) Galacto-oilgosaccharides (GOS) Fructooilgosaccharides (FOS)
  • ไม่มี gluten, milk, added colors, preservatives

คำแนะนำเพิ่มเติม

  • 6 เดือน – 3 ขวบ (<15kg) ครั้งละ 1/2ช้อนตวง วันละ 1-2 ครั้ง เช้าหรือเย็น
  • 4 – 8 ขวบ (15-25kg) ครั้งละ 1 ช้อนตวง วันละ 1-2 ครั้ง เช้าหรือเย็น
  • 9 ขวบขึ้นไป (>25kg) ครั้งละ 2 ช้อนตวง วันละ 1-2 ครั้ง เช้าหรือเย็น

เลขทะเบียนจดแจ้ง  13-1-24164-5-0010

สำหรับเด็กที่มีโรคประจำตัวหรือรับประทานยาประจำตัวอยู่ แนะนำให้ปรึกษาแพทย์ก่อนรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารใดๆก็ตาม ทั้งนี้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารไม่ได้มีผลในการรักษาโรค และควรรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ในปริมาณที่เหมาะสมตามที่นักโภชนาการแนะนำสำหรับเด็กในวัยต่างๆ ถึงแม้ว่าโปรไบโอติกจะมีการรับรองถึงความปลอดภัยและผลการศึกษาในด้านต่างๆ แต่ยังคงควรใช้ผลิตภัณฑ์ด้วยความระมัดระวังด้วยและปรึกษาแพทย์ก่อนเสมอ ฝากติดตามบทความต่างๆต่อไปด้วยนะคะ

 

อ้างอิง :

    1. โพรไบโอติกส์และพรีไบโอติกส์ ต่างกันอย่างไร https://bit.ly/4feI9jG
    2. Role of multi-strain probiotics…  https://bit.ly/3LBE5we
    3. Effect of probiotics intake… https://bit.ly/3zTO7pZ
    4. Probiotics for eczema in children and adolescents… https://bit.ly/3zQ4DHz
Disclaimer

เราจะให้ข้อมูลที่ถูกต้องเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ การรักษาโรค การใช้ยาสมุนไพร ฯลฯ อย่างไรก็ตามเนื้อหาในเว็บไซด์ แห่งนี้มีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจเท่านั้น ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้หรือใช้แทนคำการวินิจฉัย การรักษาทางการแพทย์แต่อย่างไร หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบายควรปรึกษาแพทย์ที่สถานพยาบาลเท่านั้น